วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์




หมายถึง : อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่งได้และ ให้ผลลัพธ์ตามต้องการ ประกอบด้วยอุปกรณ์ป้อนข้อมูลเข้า (input devices)หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing unit)อุปกรณ์แสดงผล (output devices)อุปกรณ์ความจำสำรอง (Secondary Storage devices) 1.1 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)ทำหน้าที่รับข้อมูลโปรแกรม ต่างๆ ที่ส่งผ่านอุปกรณ์เข้ามาเก็บ ไว้ในหน่วยความจำ ได้แก่ แป้นพิมพ์, เมาส์, Joystick ฯลฯ1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือ CPU ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ1.2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit)1.2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit)1.2.3 หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่จำหรือเก็บคำสั่ง และข้อมูลต่างๆ รวมทั้งผลลัพธ์ที่ส่ง มาจากหน่วยคำนวณ หน่วยความจำอาจมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หน่วยเก็บ ข้อมูล1.3 หน่วยแสดงผลเป็นหน่วยที่แสดงผลออกมาทางสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ จอภาพ, เครื่องพิมพ์, เครื่องเจาะบัตร เป็นต้น












ซอฟท์แวร์



หมายถึง : ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์ ให้เครื่องทำงานได้ตามต้องการในแต่ละงาน แบ่งตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้อุปกรณ์อื่นๆ สามารถทำงานประสานกันได้ และควบคุมโปรแกรมภายนอกอื่นๆ ให้สามารถใช้งานได้ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ได้แก่ MS-Dos , Linux, UNIX, Windows ฯลฯ2. โปรแกรมแปลภาษา (Compiler Languages) เป็นโปรแกรมที่แปลภาษาคอมพิวเตอร์ให้เป็น ภาษาเครื่อง3. โปรแกรมประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้ เครื่องทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการของ ผู้ใช้4. โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อประมวลผลของงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ได้แก่ โปรแกรมประมวลคำ (word Processing)โปรแกรมจัดระบบฐานข้อมูล (data Base Management) โปรแกรมทำการคำนวณ (calcutation Program) โปรแกรมสำหรับงานธุรกิจ (Business Program)



ขั้นตอนการปฏิบัติงานจากความหมายจะเห็นว่า คอมพิวเตอร์มี ขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ



1. รับโปรแกรมและข้อมูล



2. ประมวลผล



3. แสดงผลลัพธ์



ข้อมูล (Data)


คือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์ใดๆ ที่สนใจศึกษาข้อมูล แบ่งออกได้ดังนี้1. รหัส (code) คือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนข้อมูล โดยปกติใช้ตัวเลขฐานสอง เช่น 0 ถึง 9 หรือ A ถึง Z2. บิท (Bit) ย่อมาจาก Binary digit คือหลักในเลขฐานสอง ที่มี 6 บิท หรือ 8 บิท ซึ่งอาจใช้เป็นรหัสแทนตัวอักษรได้ เช่น 00010010 แทน A3. ไบท์ (Bye) คือกลุ่มของเลขฐาน อาจจะเป็น 6 บิท 8 บิท ก็ได้ นำมาเป็นรหัสแทนสัญลักษณ์ตัวใด ตัวหนึ่ง เช่น 00000000 (8 บิท) เท่ากับ 1 ไบท์4. ตัวอักขระ (Character) คือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้แทนภาษามนุษย์5. คำ (Word) 6. เขต (Field)7. ระเบียน (Record) 8. ไฟล์ (File) หรือแฟ้มข้อมูล



บุคลากร


เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามระบบได้ แบ่งออกได้ดังนี้1. นักวิเคราะห์ระบบ (System analysts)2. นักเขียนโปรแกรม (Programmers)3. พนักงานควบคุมคอมพิวเตอร์ (Computer Operaters)4. ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Users Computer)

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมข่ายอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ สำหรับการเตรียมตัวเข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งศักยภาพของคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องสามารถที่จะรองรับการทำงานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้จัดทำขึ้นนั้น จะเป็นข้อมูลในลักษณะข้อมูลภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และอื่น ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอที่แตกต่างกันไป ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใฃ้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ตั้งแต่ 233 MHz เป็นต้นไป
2. หน่วยความจำ (Hard Disk) มีขนาดความจุ ตั้งแต่ 100 MB ขึ้นไป
3. ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive) ขนาด1.44 MB
4. ซีดีไดร์ฟ (CD Drive) และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น ลำโพง ไมโครโฟน เป็นต้น

โมเด็ม (Modem)
โมเด็ม (Modem) หรือ Modulator-Demodulator หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) เพื่อส่งไปตอมเครือข่ายโทรศัพท์ ซึ่งเรียกว่า Modulate และแปลงสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อก (Analog) ที่มาจากเครือข่ายโทรศัพท์กลังเป็นสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอล (Digital) เพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกว่า Demodulate โมเด็มนั้นจัดเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยปัจจุบันนี้โมเด็มได้ถูกพัฒนาให้มีความเร็วให้การส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งความเร็วที่ใช้ในปัจจุบันมีความเร็วสูงถึง 56 Kbps (Kilobit per second)
สำหรับอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลของโมเด็มมีหน่วยวัดเป็นบิตต่อนาที (Bps: bit per second)
ซึ่งมี บิต เป็นหน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยปกติอักขระ 1 ตัวอักขระประกอบด้วย ขนาด 8 บิต รวมตัวกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วปัจจุบันในการเลือกซื้อโมเด็มจะมีความเร็ว 56.6 kbps ซึ่งหมายถึง ความเร็ว 56.6 กิโลบิตต่อนาทีนั่นเอง

ประเภทของโมเด็ม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
โมเด็มแยกตามลักษณะการใช้งาน
โมเด็มแยกตามมาตรฐานการสื่อสาร และความเร็วในการส่งข้อมูล


WWW ( World Wide Web) หรือเครือข่ายใยแมงมุม จะเป็นตัวช่วยให้การท่องไปในโลกอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน เพราะมีการแสดงผลแบบ Hypertext ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งเมื่อเข้าใช้งาน แล้วจะทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเกิดความสะดวกสบายในการใช้งาน ในการใช้งาน www จะทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมีความรู้สึกเสมือนหนึ่งว่าข้อมูลที่อยู่ในทุกมุมโลกนั้น อยู่เพียงแค่ปลายมือ ที่สามารถค้นหาได้ภายในไม่กี่นาที

URL เป็นตัว Link เพื่อเชื่อมโยง Web Page เข้าด้วยกันนั้นจะต้องใช้ URL (Uniform Resource Locator) เป็นเลขทะเบียนอ้างอิงตำแหน่ง (Address) โดยในแต่ละ Wed Page จะต้องมี URL เพื่อใช้อ้างอิงตำแหน่งที่เป็นของตนเองซึ่งตำแหน่งของ URL Address นั้นจะไม่เหมือนกัน

โดเมนเนม (Domain Name) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลกของอินเทอร์เน็ตดังนั้น เพื่อให้เข้าใจเจ้าโดเมนเนมที่แท้จริง เราจะต้องรู้เรื่องพื้นฐานและคำศัพท์เบื้องต้นในโลกขออินเทอร์เน็ตอย่างก่อนเริ่มตั้งแต่คำว่า WWW หรือ World Wide Web หรือ Web หรือ W3 ซึ่งเปรียบได้กับห้องสมุดที่ให้ใคร ๆ เข้ามาศึกษาค้นหาข้อมูลหรือมีข้อมูลสำหรับนำข้อมูลที่มีประโยชน์มาวางแล้วให้ผู้ที่สนในเข้ามาศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุด WWW ซึ่งจะแตกต่างจากห้องสมุดทั่ว ๆ ไปตรงนี้ไปเป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นประมาณ Electronic
Library หรือ e-library นั่นเองและที่สำคัญคือ ทั้งโลกมีอยู่ห้องเดียว ดังนั้นถ้าคุณเข้ามาหาอะไรแล้วไม่เจอ ก็ไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปหาที่ห้องสมุดอื่น ๆให้อีกหาอยู่ที่ e-library ที่เดียวมีทุกอย่างที่ต้องการ

HTML (Hypertext Markup language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับสร้าง Text File เป็น Hypertext Document หรือ Hypermedia Document ทั้งนี้ยังสามารถนำไปแสดงผลเป็น Web Page ใน Browser ได้ ทั้งนี้ในภาษา HTML มีคำสั่งที่เรียกว่า แท็ก เพื่อใช้ในการเตรียมข้อความเสียง ฯลฯ จะมีหน้าลักษณะการทำงานอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการประมวลผลของ Web Browser ซึ่งอาจแตกต่าง กันบ้างในแต่ละ Web Browser
E-mail หมายถึง ชื่ออยู่ของผู้ร้องขอใช้บริการอีเมล์ไม่ว่าจะเป็นผู้รับหรือผู้ส่ง โดยการส่งจดหมายผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น มีรูปแบบดังนี้
ชื่ออินเตอร์เน็ตหรือชื่อเรียกเข้า หมายถึง ชื่อหรือสัญลักษณ์ที่ผู้ขอให้บริการอีเมล์ตั้งขึ้นแทนตัวเองอาจเป็นชื่อย่อ หรือรหัสแทน โดยจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่นในเครือข่ายที่ให้บริการนั้น ๆ
๑ อ่านว่า แอ็ท แปลว่า อยู่ที่ ให้คั้นระหว่างชื่อล็อคอินกับชื่อองค์กรที่ให้บริการ
องค์การที่ให้บริการ หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์โดยการลงทะเบียนสมัครสมาชิกหรือองค์กรที่สังกัดอยู่
เช่น webmaster@yahoo.com
Webmaster คือ ชื่อที่ผู้ขอให้กำหนดขึ้น โดยการให้บริการของ www.yahoo.com
หรือ reddevil@redarmyfc.com
reddevil คือ ชื่อที่ผู้ขอใช้กำหนดขึ้น โดยกการให้บริการของ www.redarmyfc.com เป็นต้น


Search Engine หมายถึง เครื่องมือหรือเว็บไชต์ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลและข่าวสารให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่างเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ
การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีข้อมูลมากมายมหาศาลนั้น ถ้าเราเลือกเปิดเว็บเพจที่ละหน้าอาจจะต้องใช้เวลาในการค้นหายาวนาน หรืออาจจะไม่พบข้อมูลที่เราต้องการเลยก็ได้ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วได้นั้น จำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือหรือเว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมชื่อเว็บไซต์ต่าง ๆ เอาไว้ โดยตัดแยกเป็นหมวดหมู่ผู้ต้องการใช้งานเพียงแค่กำหนดหัวข้อที่ต้องการค้นหาลงไปในช่องที่กำหนด กดปุ่มค้นหาหรือ Enter รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อ ๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
ประเภทของ Search Engine
การทำงาน ของSearch Engine นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
อินเด็กเซอร์
ไดเรกทอรี
เมตะเสิรช์

อินเด็กเซอร์
เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นิยมเรียกกันว่า “Spiders”หรือ”ROBOT” หรือ “Crawler”โดยโปรแกรมเหล่านี้จะถูกส่งออกไปท่องในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นระยะ ๆ เพื่อค้นหาเว็บเพจใหม่ ๆ หรือที่ได้มีการปรับปรุงใหม่ แล้วนำข้อมูลของเว็บนั้น ๆ มา จัดเก็บเป็นดัชนีในฐานข้อมูลซึ่งนิยมเรียกกันว่า “Index”

ไดเร็กทอรี
ลักษณะการทำงานของเสิร์ชเอ็นจิ้นแบบไดเรคทอรี เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่ใสการค้นหาข้อมูล โดยจะแสดงรายละเอียดแต่หมวดหมู่ไว้ใน URL นั้น ๆ ซึ่งจะแยกเนื้อหาของแต่ละเว็บเพจเก็บลงในฐานข้อมูลการจำแนกหมวดหมู่ข้อมูลจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและรายละเอียดของขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของบุคลากรที่ทำการจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้น ๆ ให้อยู่ในประเภทใดดังนั้นฐานข้อมูลเสิร์ชเอ็นจิ้นประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป ซึ่งทำให้การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้และมีความถูกต้องถูกต้องแม่นยำในการาค้นหาสูงกว่าประเภทอินเด็กซ์

เมตะเสิร์ช
เป็นการค้นหาข้อมูลโดยเมตะเสิร์ชจะทำหน้าที่ตัวเป็นเสมือนตัวกลางที่ส่งข้อคำถาม(Query) ของผู้ใช้บริการเพื่อทำการค้นหาทีฐานข้อมูลของเสิร์เอ็นจินรายอื่น ๆ ทั่วโลกซึ่งทำการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล โดยเสิร์ชเอ็นจินประเภทนี้จะไม่มีการจัดทำฐานข้อมูลดัชนีเว็บเพจของตนเอง แต่อาศัยดัชนีค้นหาของเสิร์ชเอ็นจินอื่น ๆ ตัวอย่างของเมตาเสิร์ชเอ็นจิน ได้แก่ MetaCrawler, Thaifind เป็นต้น

การสนทนา (Chat) ที่ได้รับความนิยมมากสำหรับนักเล่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นชุมชนของบุคคลกลุ่มหนึ่งในโลกไซเบอร์ หรือที่นิยมเรียกว่า Chat Room เป็นการติดต่อสนทนากันด้วย ข้อความ โดยการส่งข้อความโต้ตอบกัน เราสามารถแบ่งการทำงานได้
มารยาทในการสนทนาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
มารยาทในการสนทนานั้นไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวสักเท่าใดนัก แต่เป็นสิ่งผู้ที่ใช้งานภายใต้โลกของ IRC ควรเคารพและให้เกียรติแก่ผู้ที่ใช้งานคนอื่น ๆ
ไม่ควรสนทนาด้วยข้อความสุขภาพ
ควรสนทนาด้วยข้อความที่พาดพึงถึงบุคคลอื่น
พึงระวังในการเรื่องการใช้ Script เพาะอาจสร้างปัญหาความรำคาญ
ไม่ควรส่งข้อความซ้ำ ๆ กัน

กฎหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีอยู่ 6 ฉบับได้แก่
1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือทางอิเล็กทรอนิกส์
3. กฎหมายเกี่ยวกับอาญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
4. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6. กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

ประวัติความเป็นมาขออินเทอร์เน็ต

ประวัติความเป็นมา
ของอินเทอร์เน็ตในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
2. เทลเน็ต(Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
3. การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7. การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง


อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล